Sunday 23 September 2012

พยาบาล ... สวรรค์สร้างมา หรือแค่บิดามารดา อยากให้เป็น ??

วันหยุดสุดสัปดาห์แบบนี้ ...
นั่งอัพ อะไรเล่นๆ สนุกแต่ได้ใจความกันดีกว่านะคะ
ปกติจะอัพความรู้ต่างๆนานา การดูแลตัวเองในโรคต่างๆ
แต่ ... วันนี้ มาแปลกแหวกแนว
ขอ เขียนเรื่องเกี่ยวกับ "อาชีพพยาบาล" ละกันคะ


หากเราตามสำรวจความฝันของเด็กๆหลายคน
ว่าโตขึ้น หนูอยากเป็นอะไร??
แน่นอนคะว่าต้องมี อาชีพพยาบาล เป็นคำตอบที่ติดอยู่ในอันดับต้นๆ ของสาวน้อยทั้งหลายอย่างแน่นอน

ส่วนใหญ่จะให้เหตุผลว่า
-หนูอยากช่วยเหลือคนป่วย
-หนูอยากช่วยเหลือคนที่เจ็บ ให้หาย
นั่นคือเหตุผลของเด็กที่ไม่เกิน10ขวบ (แน่นอนคะ โลกยังสวยอยู่)

โตขึ้นมาอีกนิด...เหตุผลจะเปลี่ยนไป
-อยากเรียนเพราะมหาวิทยาลัยดัง
-จบมามีงานรองรับ
-เงินเดือนดี
-หนูโดนบังคับ เพราะพ่อแม่ อยากให้เป็น!!! เอาละซี้ เชื่อเหตุผลนี้ ร้อยละ50 จะตอบแบบนี้ทั้งนั้น
-บางคนอยากเรียนเพียงเพื่อ จะเป็น นาง พยายาม(อยากได้หมอ มาเป็นแฟน)??  

กาลเวลาเปลี่ยน ความคิดเปลี่ยน!!
วิชาชีพพยาบาล ... บางคน อาจโดนขีดเส้นมาจากสวรรค์เบื้องบน กำหนดมาให้แล้วก็เป็นได้
หรือ บางคน อาจโดนขีดเส้นจากบุพการี ของเรานั่นเอง อยากให้เดินทางสายนี้ เลี้ยวทางนี้ ตามที่ท่านอยากให้เดินและเป็นไป


พยาบาลบางคน ทำงานแบบส่งๆไปวันๆให้พ้นเวรพ้นกรรมกันไป
พยาบาลหลายคน ดูแลคนไข้อย่างกับเป็นญาติผู้ใหญ่ของพวกเขาเองอย่างนั้นแหละ (ปลื้มมมมมาก หากใครคิดแบบนี้)
พยาบาลบางคน ต้องทนทำ เพื่อสิ่งที่ดีกว่า
พยาบาลบางคน ทำเพราะใจรัก (ยังมีคะ ส่วนนี้ยังคงมีอยู่ในสังคม มนุษย์โลกอยู่)
พยาบาลบางคน เอาวิชาชีพ ไปทำในทางที่ผิด
....

ที่กล่าวมานี้ 
ก็อยู่ที่สันนะดรส่วนบุคคลอีกนะแหละนะคะ 
เพราะไม่ว่าวิชาชีพ หรือ อาชีพ ใดใดก็ตามแต่ หากไม่มีใจรักและซื่อสัตย์ต่ออาชีพของเราเอง
ก็จะมีคนจำพวกนี้ วนเวียนอยู่ร่ำไป

เคยคิดกันมั้ยคะว่า เอ๊ะ!! ทำไม เราถึงเกิดมาเป็นแบบนี้ แบบนั้น
สวรรค์กำหนด หรือใครสร้างให้เราเป็นแบบนี้
ไม่มีใครรู้หรอกจริงมั้ยคะ 
ขนาดผู้เขียนเอง ยังเคยคิดเหมือนกันว่า 
"ฉันเป็นพยาบาลเพราะ ถูกชะตากำหนด หรือเพราะเลือกเองนะ"

แต่ถึงกระไรนั้น ผู้เขียนเอง มีความรักในวิชาชีพนี้คะ
มันให้อะไรเราหลายๆอย่าง

"ได้ทั้งความภาคภูมิใจ ปลื้มใจ สุขใจ และปัจจัย 555+"

ไม่ว่าจะอย่างไร ขอแค่เรามีใจรักและลงมือทำมันอย่างสุดความสามารถกันเถอะนะคะ
แล้วเราจะรู้สึกปิติ เมื่อได้เห็นผลผลิตที่มันออกมา ^^


Wednesday 19 September 2012

"น้ำกัดเท้า" ... โรคใหม่กับภัยน้ำท่วม

  โรคน้ำกัดเท้า หรือ ฮ่องกงฟุต
   เป็นโรคสุดฮิตที่เข้ากับบ้านเมืองของเราในสถานการณ์ช่วงนี้เป็นอย่างมากเลยนะคะ

บางคนต้องลุยน้ำ มาทำงาน
บางคนต้อง ลุยน้ำช่วยเหลือผู้คน
บางคนต้องโดนน้ำกระเด็น เพราะคนบางคนไม่มีน้ำใจ

เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันดีกว่าคะ

              โรคน้ำกัดเท้า หรือ โรคฮ่องกงฟุต (Athlete’s foot หรือ Hong Kong foot) คือ โรคผิวหนับริเวณเท้าติดเชื้อรา เป็นโรคพบบ่อยโรคหนึ่ง พบได้ทุกเพศ และทุกวัย 
และจะติดเชื้อราที่เรียกว่า Dermatophytes เนื่องจากเชื้อราจะเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ดีมากในอากาศร้อนชื้น 

โรคน้ำกัดเท้า กับภาวะน้ำท่วม สัมพันธ์กันอย่างไร

            ในคนที่ต้องลุยน้ำและแช่น้ำเป็นเวลานานนั้นบริเวณเท้าจะมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดอาการเท้าเปื่อย ลอก คัน และแสบ และอาจมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราตามมาได้นั่นเอง และหนีไม่พ้นที่จะเกิดโรคน้ำกัดเท้า


       อาการโรคน้ำกัดเท้า

         โรคน้ำกัดเท้ามักเกิดตามง่ามเท้า ซึ่งเกิดได้กับทุกง่ามเท้า แต่พบบ่อยกว่า ระหว่างง่ามเท้านิ้วที่ 3 และที่ 4 และที่ 4 และที่ 5 โดยอาการที่พบบ่อย คือ ผิวหนังส่วนเกิดโรคจะ แห้ง ตกสะเก็ด แตกเป็นร่องแผลสด บวม เจ็บ และคัน บางครั้งอาจขึ้นเป็นตุ่มน้ำ และเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนได้ ซึ่งเพิ่มการอักเสบ บวม แดง ร้อน และอาจเกิดเป็นหนองได้ ซึ่งจะส่งผลให้โรครุนแรงขึ้น


      รักษาโรคน้ำกัดเท้าอย่างไร?

แนวทางการรักษาโรคน้ำกัดเท้า คือ 
การใช้ยารักษาเชื้อราเฉพาะที่บริเวณแผล อาจเป็นยาครีม เจล ขี้ผึ้ง หรือ สเปรย์ 
ส่วนการทายาบรรเทาอาการคัน ควรต้องระวัง เพราะเมื่อมีส่วนผสมของยาสเตียรอยด์ อาจทำให้โรคลุกลามได้
นอกจากนั้น คือ การรักษาความสะอาด แผล เท้า รองเท้า และถุงเท้า ซึ่งนอกจากความสะอาดแล้วยังต้องดูแลให้ แห้ง ไม่เปียกชื้น ตลอดเวลาด้วยคะ

การป้องกัน
ในช่วงเวลาที่น้ำท่วมในหลายๆ พื้นที่นี้ อาจเป็นการยากที่จะหลีกเลี่ยงการลุยน้ำ การป้องกันโรคน้ำกัดเท้าโดยการรักษาความสะอาดของเท้าและทำให้เท้ามีความชื้นน้อยที่สุดจึงเป็นเรื่องสำคัญ
  • หลีกเลี่ยงความชื้น ไม่ใส่รองเท้าและถุงเท้าที่เปียกชื้นเป็นเวลานาน ควรซักถุงเท้าให้สะอาดและตากให้แห้งก่อนนำมาใช้ทุกครั้ง
  • ป้องกันเมื่อลุยน้ำ สวมรองเท้าบูททุกครั้งที่ลุยน้ำ ถ้าระดับน้ำสูงเกินกว่าขอบรองเท้าให้ใช้ถุงดำครอบแล้วใช้หนังยางรัดไว้ หากน้ำเข้ารองเท้าให้หมั่นเทน้ำออกเป็นระยะๆ
  • รักษาความสะอาด หลังจากลุยน้ำให้รีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ เช็ดให้แห้งโดยเฉพาะบริเวณซอกเท้า และใช้แป้งฝุ่นโรยบริเวณเท้าและซอกเท้าเพื่อให้เท้าแห้งสนิท
  • ดูแลแผล หากมีบาดแผลบริเวณเท้า เช็ดแผลด้วยแอลกอฮอล์ และใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น โพวิโดนไอโอดีน และหลีกเลี่ยงไม่ให้แผลสัมผัสกับน้ำสกปรกที่ท่วมขัง



เชื้อรากับเท้า,ฮ่องกงฟุต
น้ำกัดเท้า

ที่มาของรูปภาพ : Google.com