Tuesday 14 August 2012

ภาวะไข้...สิ่งใกล้ตัวที่ควรรู้

คงไม่มีใครไม่รู้จักอาการไข้ ใช่ไหมคะ "ไข้" เป็นคำที่ทุกคนต่างได้ยินผ่านหูกันมาอย่างดีและเคยชิน แต่ทราบกนหรือไม่คะว่า แท้ที่จริงแล้ว ภาวะไข้ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ ภาวะไข้ กันนะคะ


ไข้ หรือ อาการตัวร้อน หรือที่เรียกว่า Fever
         หมายถึงการเพิ่มของอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าค่าปกติคือ 36.5–37.5 °C (98–100 °F) ซึ่งเป็นผลมาจากการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกายที่พยายามต่อต้านการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส

ภาวะไข้ คือ อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น  เนื่องจากมีการสร้างความร้อนจากภายในร่างกายหลังจากที่มี hypothalamic thermoregulatory set point สูงขึ้น

* Hyperthermia คือ อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นโดยที่ hypothalamic thermoregulatory set point ยังอยู่ในระดับปกติ  โดยมีสาเหตุจากความร้อนภายนอก หรือการออกกำลังกาย นั่นเองคะ



การเกิดภาวะไข้

1.ขบวนการเกิดโรค  เช่นภาวะติดเชื้อ การอักเสบ เนื้องอก ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน
2.ยาที่มีผลโดยตรงทำให้ hypothalamic thermoregulatory set point สูงขึ้น

อาการไข้
    ซึม เบื่ออาหาร หายใจหอบ อ้าปากหอบหายใจ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ   ร่วมกับอาการอื่นๆตามสาเหตุของโรค 
    ภาวะไข้ที่ไม่ทราบสาเหตุ   จะใช้ในกรณีที่เป็นไข้เป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์โดยไม่สามารถระบุสาเหตุ และไม่พบความผิดปกติอื่นๆจากการตรวจวินิจฉัยด้วย

การตรวจวินิฉัย
  • จากประวัติ สิ่งแวดล้อม สภาพการเลี้ยงดู การใช้ยา ประวัติวัคซีน
  • การตรวจร่างกาย : บาดแผลทางผิวหนัง แผล ฝี หนอง ขนาดของต่อมน้ำเหลือง ก้อนเนื้องอก
  • การตรวจเลือด
  • การ x-ray ช่องอก และช่องท้อง
 เป็นต้น

        อาการไข้เป็นภาวะที่ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อ โดยการทำให้สภาวะแวดล้อมไม่เหมาะกับการเจริญของเชื้อแบคทีเรียและไวรัส สารเคมีที่ถูกหลั่งออกมาในกระแสเลือดขณะที่เกิดการติดเชื้อจะส่งสัญญาณไปยัง “ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิ” ในสมองทำให้เกิดความร้อนขึ้น กล้ามเนื้อจะเกิดสั่นกระตุกขึ้นเพื่อสร้างความร้อน เราอาจรู้สึกหนาวสะท้านจนต้องหาอะไรมาห่ม หรืออาจมีการสูญเสียน้ำปริมาณมากได้จาการมีเหงื่อออก ซึ่งทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลง หลังจากนั้นอาการไข้จะหาย


การดูแลรักษาตนเองเพื่อบรรเทาอาการ

       เนื่องจากอาการเป็นไข้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในการต่อสู้กับเชื้อโรค และเป็นกระบวนการรักษาตัวเองของร่างกายตามธรรมชาติ ดังนั้นสำหรับผู้ใหญ่ที่แข็งแรงทั่วไปอาจไม่จำเป็นต้องลดไข้ เว้นแต่จะรู้สึกไม่สบายตัวมาก แต่ควรระวังในเด็กทารก ผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือปอด และในสตรีมีครรภ์ ควรจะทำให้ไข้ลดเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียงต่อการสูญเสียน้ำมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ทั้งนี้เป้าหมายของการดูแลรักษาตนเองในการบรรเทาอาการไข้ก็เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และช่วยลดอาการไม่สบายตัวถ้าหากจำเป็น



การรักษา

-การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไข้
-การให้สารน้ำ ในกรณีที่เกิดภาวะขาดน้ำ และนอกจากนี้การให้สารน้ำยังช่วยให้อุณภูมิร่างกายลดลงด้วย
-การให้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากแบคทีเรียมักจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไข้  ในรายที่เป็นไข้แบบไม่ทราบสาเหตุควรให้ยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์วงกว้างและออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในระยะเวลาสั้นๆ
-การรักษาอื่นๆตามอาการ  เช่นการให้สารอาหารในรายที่ไม่กินอาหาร  หรือให้ยาลดไข้ในรายที่ไข้สูงมากๆ ทั้งนี้การรักษาจะอยู่ในดุลยพิินิจของแพทย์คะ






ควรปรึกษาแพทย์เมื่อใด

เมื่อไข้สูงเกิน 39.4 C ขึ้นไป
เมื่อมีไข้ร่วมกับผื่น ปวดศรีษะอย่างมาก และคอแข็ง

เมื่อกระวนกระวายหรือสับสนมาก 
เมื่อไอมีเสมหะสีน้ำตาล/เขียว 
เมื่อมีอาการปวดผิดปกติขณะปัสสาวะ ปวดท้อง ปวดหลังมาก
เมื่อมีอาการขาดน้ำ
เมื่อมีไข้หลังจากรับประทานยาบางชนิด



sick


ที่มารูปภาพ : Google.com