Wednesday 19 September 2012

"น้ำกัดเท้า" ... โรคใหม่กับภัยน้ำท่วม

  โรคน้ำกัดเท้า หรือ ฮ่องกงฟุต
   เป็นโรคสุดฮิตที่เข้ากับบ้านเมืองของเราในสถานการณ์ช่วงนี้เป็นอย่างมากเลยนะคะ

บางคนต้องลุยน้ำ มาทำงาน
บางคนต้อง ลุยน้ำช่วยเหลือผู้คน
บางคนต้องโดนน้ำกระเด็น เพราะคนบางคนไม่มีน้ำใจ

เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันดีกว่าคะ

              โรคน้ำกัดเท้า หรือ โรคฮ่องกงฟุต (Athlete’s foot หรือ Hong Kong foot) คือ โรคผิวหนับริเวณเท้าติดเชื้อรา เป็นโรคพบบ่อยโรคหนึ่ง พบได้ทุกเพศ และทุกวัย 
และจะติดเชื้อราที่เรียกว่า Dermatophytes เนื่องจากเชื้อราจะเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ดีมากในอากาศร้อนชื้น 

โรคน้ำกัดเท้า กับภาวะน้ำท่วม สัมพันธ์กันอย่างไร

            ในคนที่ต้องลุยน้ำและแช่น้ำเป็นเวลานานนั้นบริเวณเท้าจะมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดอาการเท้าเปื่อย ลอก คัน และแสบ และอาจมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราตามมาได้นั่นเอง และหนีไม่พ้นที่จะเกิดโรคน้ำกัดเท้า


       อาการโรคน้ำกัดเท้า

         โรคน้ำกัดเท้ามักเกิดตามง่ามเท้า ซึ่งเกิดได้กับทุกง่ามเท้า แต่พบบ่อยกว่า ระหว่างง่ามเท้านิ้วที่ 3 และที่ 4 และที่ 4 และที่ 5 โดยอาการที่พบบ่อย คือ ผิวหนังส่วนเกิดโรคจะ แห้ง ตกสะเก็ด แตกเป็นร่องแผลสด บวม เจ็บ และคัน บางครั้งอาจขึ้นเป็นตุ่มน้ำ และเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนได้ ซึ่งเพิ่มการอักเสบ บวม แดง ร้อน และอาจเกิดเป็นหนองได้ ซึ่งจะส่งผลให้โรครุนแรงขึ้น


      รักษาโรคน้ำกัดเท้าอย่างไร?

แนวทางการรักษาโรคน้ำกัดเท้า คือ 
การใช้ยารักษาเชื้อราเฉพาะที่บริเวณแผล อาจเป็นยาครีม เจล ขี้ผึ้ง หรือ สเปรย์ 
ส่วนการทายาบรรเทาอาการคัน ควรต้องระวัง เพราะเมื่อมีส่วนผสมของยาสเตียรอยด์ อาจทำให้โรคลุกลามได้
นอกจากนั้น คือ การรักษาความสะอาด แผล เท้า รองเท้า และถุงเท้า ซึ่งนอกจากความสะอาดแล้วยังต้องดูแลให้ แห้ง ไม่เปียกชื้น ตลอดเวลาด้วยคะ

การป้องกัน
ในช่วงเวลาที่น้ำท่วมในหลายๆ พื้นที่นี้ อาจเป็นการยากที่จะหลีกเลี่ยงการลุยน้ำ การป้องกันโรคน้ำกัดเท้าโดยการรักษาความสะอาดของเท้าและทำให้เท้ามีความชื้นน้อยที่สุดจึงเป็นเรื่องสำคัญ
  • หลีกเลี่ยงความชื้น ไม่ใส่รองเท้าและถุงเท้าที่เปียกชื้นเป็นเวลานาน ควรซักถุงเท้าให้สะอาดและตากให้แห้งก่อนนำมาใช้ทุกครั้ง
  • ป้องกันเมื่อลุยน้ำ สวมรองเท้าบูททุกครั้งที่ลุยน้ำ ถ้าระดับน้ำสูงเกินกว่าขอบรองเท้าให้ใช้ถุงดำครอบแล้วใช้หนังยางรัดไว้ หากน้ำเข้ารองเท้าให้หมั่นเทน้ำออกเป็นระยะๆ
  • รักษาความสะอาด หลังจากลุยน้ำให้รีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ เช็ดให้แห้งโดยเฉพาะบริเวณซอกเท้า และใช้แป้งฝุ่นโรยบริเวณเท้าและซอกเท้าเพื่อให้เท้าแห้งสนิท
  • ดูแลแผล หากมีบาดแผลบริเวณเท้า เช็ดแผลด้วยแอลกอฮอล์ และใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น โพวิโดนไอโอดีน และหลีกเลี่ยงไม่ให้แผลสัมผัสกับน้ำสกปรกที่ท่วมขัง



เชื้อรากับเท้า,ฮ่องกงฟุต
น้ำกัดเท้า

ที่มาของรูปภาพ : Google.com




No comments:

Post a Comment