Wednesday 25 July 2012

ทำอย่างไรจะปลอดภัย...เมื่อใช้"ยาปฏิชีวนะ"

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ//การแพทย์ ทุกวันนี้มันเยอะยิ่งนักนะคะ
ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรคที่มันพัฒนาตัวมันเองแข่งกับยาต้านที่มนุษย์เราผลิตมาเพื่อสู้กับมัน
ต่างคนต่างดิ้นรน น่าเหนื่อยจังเลย...

เมื่อร่างกายของเราก็เหมือนกับเครื่องจักร ทำทุกวันหนักๆไม่พัก สักวันมันก็ต้องมีวันเสื่อมวันพังเป็นเรื่องสัจธรรมของชีวิต แต่เราจะทำอย่าางไร ป้องกันหรือส่งเสริมอย่างไรให้ร่างกายหรือเครื่องจักรของเราไม่เสื่อมสภาพ//หรือว่าง่ายๆเสื่อมสภาพแบบน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

เมื่อโลกเปลี่ยนไปวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลง ก็มีการพัฒนาทั้งยารักษาโรค การรักษา การผ่าตัด ให้ทันสมัยเพื่อรับมือกับการยื้อชีวิตให้กลับมาเป็นปกติที่สุด

1ในการรักษาโรคทั่วไปคือ ยา
และยานี่เองคือสารเคมีที่จะเข้าร่างกายไปช่วยให้ร่างกายของเราดีขึ้น แต่..เราสามารถซื้อยามารับประทานเองได้หรือไม่?? และจะต้องปรึกษาใคร??
ยาชนิดหนึ่งที่ทุกคนคงเคยได้รับยาชนิดนี้กันมาเเล้วอย่างแน่นอนคือ ยาแก้อักเสบ หรือ ยาปฏิชีวนะ นั่นเองคะ

      ยาปฏิชีวนะคือยาอะไร?

ในวงการแพทย์มักเรียกยาปฏิชีวนะว่า แอนติไบโอติก (Antibiotics) หมายถึง ยาต้านสิ่งมีชีวิต ซึ่งสิ่งมีชีวิตในที่นี้ คือ เชื้อโรคนั่นเอง โดยทั่วไปมักเป็นเชื้อแบคทีเรีย บางคนจึงเรียกว่า ยาต้านแบคทีเรีย (แอนติแบคทีเรียล/Antibacterial) แต่ยังอาจครอบคลุมถึงเชื้อไวรัสบางชนิด และเชื้อราบางชนิดอีกด้วยคะ

ยาปฏิชีวนะรักษาโรคได้อย่างไร?

กลไกการออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะ มีกระบวนการทำลายและยับยั้งการเจริญ เติบโตของเชื้อแบคทีเรียโดย 
-ทำลายเยื้อหุ้มเซลล์ซึ่งส่งผลทำให้สมดุลในการดำรงชีวิตของเชื้อโรคเสียไปและตายในที่สุด         
-ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ (Cell Wall) ซึ่งเป็นผนังภายนอกสุดของเซลล์ ที่ห่อหุ้มเยื่อหุ้มเซลล์อีกชั้นหนึ่ง ด้วยกลไกนี้จะทำให้เชื้อแบคทีเรียต่างๆไม่สามารถแพร่พันธุ์ จึงหยุดการเจริญเติบโต
-ก่อกวนการสังเคราะห์สารพันธุกรรม(ดีเอนเอ และ อาร์เอนเอ)
ในตัวของเชื้อแบคทีเรีย  กลไกดังกล่าวจะทำให้เชื้อแบคทีเรีย ไม่สามารถผลิตลูกหลานออกมาได้อีกต่อไป
-กระตุ้นให้เชื้อแบคทีเรีย ปลดปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยตัวเองและตายลงในที่สุด
อนึ่ง ความสามารถในการทำลายเชื้อแบคทีเรียของยาปฏิชีวนะ ไม่ได้ขึ้นกับวิธีการ หรือกลไกทำลายเชื้อโรคเท่านั้น แต่ยังขึ้นกับความสามารถในการนำ หรือพายาปฏิชีวนะไปยังอวัยวะที่มีการติดเชื้อ หากร่างกายไม่สามารถนำยาไปยังอวัยวะที่มีการติดเชื้อได้ ก็ไม่สามารถทำลายเชื้อโรคได้ ซึ่งการนำยาไปยังอวัยวะเป้าหมาย มีหลายช่องทาง
 เช่น การกิน การฉีดใต้ผิวหนัง การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ และ การทาที่ผิวหนัง

ใช้ยาปฏิชีวนะนานๆ หรือ พร่ำเพรื่อ ส่งผลเสียอะไรบ้าง?

การใช้ยาปฏิชีวนะ ต้องใช้ให้เหมาะสม และตรงกับชนิดของโรคที่จะรักษา การได้รับยาไม่ครบตามปริมาณ และในขนาดที่เหมาะสม ส่งผลเสียโดยตรง คือ อาการของโรคไม่ดีขึ้น 
แต่การใช้ยาปฏิชีวนะนานเกินไป หรือใช้มากเกินไปก็มีผลเสีย ดังนั้นการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะควรต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์ หรือขอคำ แนะนำจากเภสัชกรก่อนใช้เสมอ
ผลเสียจากใช้ยาปฏิชีวนะนานๆ หรือ พร่ำเพรื่อ ที่พบบ่อย คือ
-เชื้อโรคมีพัฒนาการต่อต้านยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้เกิดภาวะดื้อยา (เชื้อดื้อยา)
-เกิดการกดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายที่มีตามธรรมชาติ ทำให้ร่าง กายอ่อนแอลง ไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้ด้วยภูมิคุ้มกันของตัวเอง ซึ่งมักพบภาวะกดภูมิคุ้มกันกับการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปในเด็ก
-เกิดการทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ซึ่งอาศัยอยู่ในทางเดินอาหาร ส่งผลให้การสร้าง และ/หรือ การดูดซึม วิตามินบางกลุ่มสูญเสียไป เช่น วิตามิน เค เป็นต้น
-ได้รับผลอันไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง) ของการใช้ยา เช่น ท้องเสีย ผื่นคัน ลมพิษ และ หอบหืด
-รบกวนการทำงานของยากลุ่มอื่น (ปฏิกิริยาระหว่างยา) เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะบางกลุ่มพร้อมกับยาคุมกำเนิด จะทำให้ฤทธิ์ในการคุมกำเนิดลดลง จนอาจเกิดการตั้งครรภ์ตามมาได้
ด้วยการซื้อยาปฏิชีวนะใช้เอง หรือใช้ตามคำบอกเล่า มักส่งผลเสียมากกว่าประโยชน์ที่ควรได้รับ เช่น
  • สูญเสียความสามารถในการรักษาโรค ด้วยเลือกใช้ยาปฏิชีวนะไม่ตรงกับโรค
  • ก่อให้เกิดพิษหรือการแพ้ยา ปฏิชีวนะ บางรายอาจถึงขั้นรุนแรงและเสียชีวิตในที่สุด
  • สูญเสียทางเศรษฐกิจ ด้วยค่าใช้จ่ายในการซื้อยาและไม่ได้รับประสิทธิผลของยาที่ใช้ในการรักษา
  • เป็นสาเหตุสำคัญของเชื้อดื้อยา ซึ่งต่อไปเมื่อเกิดติดเชื้อ มักจะรุนแรง รักษาได้ยาก มีโอกาสเสียชีวิตได้สูงขึ้น

ดังนั้น คำแนะนำสำคัญในการใช้ยาปฏิชีวนะ 
คือ ควรต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์เสมอ หรือ อย่างน้อยควรต้องปรึกษาเภสัชกร หรือ พยาบาล ก่อนซื้อยากินเองเสมอ เพราะนอกจากอันตรายดังกล่าวแล้ว ยังมีปัจจัยที่ต้องใช้ประกอบในการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะอีกมากมาย เช่น ภาวะหอบหืด ภาวะตับ และ/หรือไตทำงานผิดปกติหรือไม่ วัยของผู้ป่วย ซึ่งต้องคำนวณการใช้ยาที่แตกต่างกันออกไป
นอกจากนี้ การแจ้ง แพทย์ พยาบาล และ เภสัชกร ให้ทราบว่าตนเองแพ้ยา (การแพ้ยา)ปฏิชีวนะกลุ่มใด หรือ ตัวใด   เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาให้ยิ่งสูงขึ้นอีกด้วยนะคะ
ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล : Haamor.com//antibiotic



ยาปฏิชีวนะ,ยาฆ่าเชื้อ,antibiotic

ที่มาของรูปภาพ : Google.com






No comments:

Post a Comment