Saturday 19 May 2012

วิตามินมีประโยชน์อย่างไร


เรามาเลือกกิน วิตามิน แบบ WIN WIN กันเถอะ





                คงจะไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ไม่อยากสวยและรวยมากกันหรอก สาวๆหลายคนพยายามหาสารเคมีหลายๆตัวเข้าสุ่ร่างกายกันทั้งนั้น มนุษย์เราย่อมสามารถทำทุกอย่าง ทุกวิถีทางเพื่อให้คงความอ่อนเยาว์และความสมบูรณ์ของอวัยวะในร่างกายเอาไว้ให้มากที่สุด
                ตัวเลือกหลักๆที่ทุกคนหันมาให้ความสนใจมากที่สุดคือ วิตามิน ซึ่งวิตามินนั้นส่วนใหญ่จะอยู่ในพืช ผัก ผลไม้ มีอยู่หลากหลายชนิด แต่ในปัจจุบันนี้ มีนักวิจัย นักวิชาการ ได้ค้นคว้าหา ดัดแปลง วิตามินที่อยู่ในรูป พืช ผัก ผลไม้ กลายมาเป็นอาหารเสริม ที่อยู่ในรุปของ แคปซูล เพื่อตอบสนองในการเลือกบริโภคของแต่ละบุคคลนั่นเอง
                เรามาทำความรู้จักกับ วิตามิน กันเถอะ
หากเรามาแบ่งประเภทของวิตามิน ตามการละลาย จะมีด้วยกันอยู่ 2ประเภทคือ
1.วิตามินที่ละลายในไขมันคือ วิตามินที่ละลายในไขมันหรือน้ำมันเท่านั้น จะคงสภาพเดิมอยู่ได้นานไม่เสียง่าย และร่างกายจะเก็บสะสมไว้ที่ตับ ได้แก่ วิตามิน A,D,E,K
2.วิตามินที่ละลายในน้ำ คือ วิตามินที่ละลายในน้ำได้ง่าย ถูกทำลายได้ง่าย ได้แก่ วิตามินCและวิตามินบีรวม(บี1

          วิตามินเอ  (Vitamin A)  
พบมากในตับ ไข่แดง น้ำนม เนย น้ำมันตับปลา  พืชซึ่งมีสารประกอบพวกแคโรทีน (Carotene) ได้แก่ ผักสีเขียว  สีเหลือง  หรือสีส้ม  เช่น ข้าวโพด มันฝรั่ง มันเทศ มะละกอสุก ฟักทอง ขนุน กล้วยหอม ผักบุ้ง คะน้า
มะเขือเทศ ฯลฯ
ใช้บรรเทาโรค :   สิว หอบหืด หลอดลมอักเสบ หวัด ผิวหนัง เอ็กซีม่า ผิวหนังอักเสบ เครียด เหงือกอักเสบ ตาแห้ง การติดเชื้อ ทางเดินปัสสาวะ 

          วิตามิน  ดี  (Vitamin D)
วิตามินดีสอง (Vitamin D2) พบมากในน้ำมันตับปลา นม ไข่แดง ยีสต์  เป็นต้น ส่วนวิตามินดีสาม (Vitamin D3) ได้จากปฏิกิริยาระหว่างแสงอุลตร้าไวโอเลต (Ultraviolet)  ในแสงแดดกับสารสเตียรอยด์ที่ผิวหนัง
ใช้บรรเทาโรค : ป้องกันโรคกระดูกอ่อนในเด็กและผู้ใหญ่ ช่วยในการดูดซึมของแคลเซียม และฟอสฟอรัส 

           วิตามินอี  (Vitamin E) 
 พบในน้ำมันพืช โดยเฉพาะในน้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย  และน้ำมันถั่วเหลือง  ไข่ปลา เนื้อ  ตับ ข้าวกล้อง
ใช้บรรเทาโรค : ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ป้องกันการแข็งตัวของเลือด

            วิตามินเค  (Vitamin K or Coagulation Vitamin)
 พบมากในผักใบเขียว มะเขือเทศ ดอกกะหล่ำ ไข่แดง น้ำมันถั่ว ตับ เนื้อหมู
 ใช้บรรเทาโรค :   ทำหน้าที่ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนที่ทำหน้าที่ควบคุมการแข็งตัวของเลือด

          วิตามินซี  (Vitamin C  or Ascobic acid) 
พบมากในผัก และผลไม้สด เช่น มะนาว ส้ม มะเขือเทศ มะขามป้อม ผักใบเหลือง และผัดสดทั่วไป  ฯลฯ อาหารที่มีต้นตอจากสัตว์มี  วิตามินซีน้อย  ที่จัดว่าดีมีในอาหารประเภทเนื้อสัตว์  ได้แก่  ตับและไข่ปลา
บรรเทาโรค : จำเป็นสำหรับปฏิกิริยาเกี่ยวกับการใช้ออกซิเจนในร่างกาย ช่วยในการต้านทานโรค เกี่ยวข้องกับขบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต และยังมีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการสร้างสารที่ยึดเซลล์ในเนื้อเยื่อเดียวกัน  ที่สำคัญได้แก่ เนื้อเยื่อหลอดเลือดฝอย กระดูก ฟัน และพังผืด ทำให้ผนังเส้นเลือดฝอยแข็งแรงขึ้น
    
วิตามินบีหนึ่ง (Thiamine Hydrochloride) 
พบมากในเนื้อหมู ถั่วเมล็ดแห้ง เครื่องในสัตว์ เห็ดฟาง ข้าวอนามัย (ข้าวแดง) ข้าวซ้อมมือ หรือข้าวที่ขัดสีแต่น้อย
บรรเทาโรค :  ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงคาร์โบไฮเดรตในร่างกาย จำเป็นสำหรับการเผาผลาญอาหาร บำรุงหัวใจ และระบบประสาท กับช่วยการทำงานของระบบทางเดินอาหาร จึงทำให้มีความอยากอาหารและป้องกันท้องผูก 
  
          วิตามินบีสอง (Riboflavin) 
พบมากในผักใบเขียว ตับ หัวใจ นม ไข่ เนย ข้าวอนามัย ข้าวกระยาทิพย์ ผลไม้เปลือกแข็ง
บรรเทาโรค : มีหน้าที่สำคัญในกระบวนการเผาผลาญอาหาร ทำให้เกิดพลังงานภายในร่างกาย ช่วยบำรุงผิวหนัง และนัยน์ตา 


          วิตามินบีหก  (Pyridoxine) 
พบมากในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์  ถั่ว  กล้วย  และผักใบเขียว
บรรเทาโรค :   มีหน้าที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญโปรตีนภายในร่างกาย  ถ้าได้รับวิตามินบีหกไม่พอ   จะทำให้เกิดอาการขาดเลือดและซีดได้ 

          ไนอาซิน (Niacin) 
พบมากใน  เครื่องในสัตว์และเนื้อสัตว์   ร่างกายสามารถสร้างไนอาซินได้ด้วยจากกรดอะมิโนทริปโตเฟน 
บรรเทาโรค : มีหน้าที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาการเผาผลาญของสารอาหารเพื่อให้เกิด พลังงาน  การหายใจของเนื้อเยื่อและการสร้างไขมันในร่างกาย

          ไบโอติน  (Biotin)
 
อาหารที่ให้วิตามินนี้มีอยู่หลายชนิด  เช่น  ตับ  ไต  ถั่ว  ดอกกะหล่ำ  เป็นต้น 

บรรเทาโรค ;    มีบทบาทสำคัญในปฏิกิริยาของกรดไขมันและกรดอะมิโน  

          กรดโฟลิค  (Folic  acid) 
อาหารที่มีโฟลาซินมากคือ  ผักใบเขียวสด  ส้ม  ตับ  ไต 

บรรเทาโรค :  มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิกและโปรตีน  การขาดวิตามินนี้จะทำให้เกิดอาการซีดชนิดเม็ดเลือดแดงโต 

            วิตามินบีสิบสอง (Cobalamine)   

พบมากในพวกอาหารจากสัตว์  เช่น ตับ  ไต  น้ำปลา  และปลาร้าด้วย
บรรเทาโรค : มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อไขกระดูก ระบบ ประสาท และทางเดินอาหาร มีส่วนสัมพันธ์กับหน้าที่บางอย่างของโฟลาซิน  


                จากบทความข้างต้นนี้ พอได้ความรู้อย่างคร่าวๆ หวังว่าสาวๆคงเลือกรับประทานอาหารหรืออาหารเสริมต่างๆให้เหมาะกับร่างกายของเราเองนะคะ  
                   

No comments:

Post a Comment